สินค้าโรงพยาบาล - Swab Unit

ตู้ตรวจเชื้อโควิดแรงดันบวก ConTel Swab Unit

ปลอดภัยกับแพทย์ ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ จำเป็นต้องมีคุณลักษณะดังนี้

1. ติดตั้งเครื่องเติมอากาศ โดยภายในเครื่องจะมีแผ่นกรองอากาศ HEPA Filter ที่มีประสิทธิภาพสูง
2. เกจวัดค่าความดันภายในห้อง ไม่น้อยกว่า 2.5 Pa.
3. ไม่มีรอยรั่วในจุดต่างๆ เช่น วงกบรอบประตู หน้าต่าง เพื่อป้องกันอากาศจากด้านนอกเข้ามาในห้อง
4. ติดตั้งเครื่องทำความเย็น ขนาด 9,000 BTU เพื่อควบคุมอุณหภูมิในห้องให้อยู่ที่ 22 – 26 องศาเซลเซียส
5. แบ่งพื้นที่ชัดเจน โดยมีผนัง ISOWALL และแผงอะคริลิกเจาะช่องสำหรับถุงมือยาง เพื่อใช้เก็บตัวอย่างผู้รับการเข้าตรวจ

สินค้า ConTel Swab Unit แบ่งออกเป็น 2 รุ่น ดังนี้

ซึ่งตู้ตรวจหาเชื้อโควิดแรงดันบวก ConTel Swab Unit มี 2 รุ่น สามารถนำไปใช้ได้กับสถานพยาบาลต่างๆ และห้องแลปเอกชน เพื่อตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยการตรวจแบบเร่งด่วน Antigen Test Kit (ATK) และแบบ RT-PCR (Real Time PCR) ที่ต้องเก็บสารคัดหลั่งทางโพรงจมูก หรือลำคอ

ตู้ตรวจหาเชื้อโควิดแรงดันบวก รุ่น S1

รายละเอียดตู้ S1

  • ความกว้าง 1.20 เมตร
  • ความยาว 2.40 เมตร
  • ความสูง 2.90 เมตร

ตู้ตรวจหาเชื้อโควิดแรงดันบวกรุ่น S1 จะแบ่งออกเป็นพื้นที่สำหรับแพทย์ และมีระเบียงสำหรับคนไข้ที่รอรับการเก็บตัวอย่าง (Swab) โดยภายในห้องตรวจจะมีแรงดันอากาศที่สูงกว่าอากาศข้างนอกเสมอ เพื่อป้องกันอากาศที่ปนเปื้อนเชื้อโรคไหลเข้ามาในห้อง ช่วยลดความเสี่ยงให้กับบุคลากรทางการแพทย์ได้เป็นอย่างดี

ตู้ตรวจหาเชื้อโควิดแรงดันบวก รุ่น S2

รายละเอียดตู้ S2

  • ความกว้าง 1.20 เมตร
  • ความยาว 1.20 เมตร
  • ความสูง 2.90 เมตร

ตู้ตรวจหาเชื้อโควิดแรงดันบวกรุ่น S2 จะลดขนาดลงมา โดยไม่ได้มีระเบียบยื่นออกมาสำหรับผู้รับการตรวจ ภายในห้องตรวจจะมีแรงดันอากาศที่สูงกว่าอากาศข้างนอกเสมอ เพื่อป้องกันอากาศที่ปนเปื้อนเชื้อโรคไหลเข้ามาในห้อง ช่วยให้การปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์มีความปลอดภัยยิ่งขึ้น

การใช้งานตู้ตรวจหาเชื้อโควิดแรงดันบวก ConTel Swab Unit

ตู้เมนไฟฟ้า

เซอร์กิตที่ 1-2 (คู่กัน) สีดำ – MAIN MCB
(ยกขึ้นเพื่อให้วงจรไฟฟ้าทำงาน, ยกลงเพื่อตัด
วงจรไฟฟ้าทั้งหมด)
เซอร์กิตที่ 3   สีน้ำเงิน –  เครื่องปรับอากาศ
เซอร์กิตที่ 4   สีน้ำเงิน –  สำรอง
เซอร์กิตที่ 5   สีแดง    –  ปลั๊กไฟ
เซอร์กิตที่ 6   สีแดง    –  แสงสว่างทั้งหมด
***ยกขึ้นให้ครบเพื่อให้วงจรไฟฟ้าทำงาน***

เครื่องปรับอากาศ

ใช้รีโมทเพื่อปรับอุณหภูมิภายในห้องตรวจ (รีโมทแขวนอยู่ที่ผนังภายในห้องตรวจ) แนะนำให้ล้างแอร์ทุก 6 เดือน เพื่อให้เครื่องทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

เครื่องอินเตอร์คอม (Intercom) 

ใช้สื่อสารกับผู้ป่วย โดยลำโพงอีกตัวสำหรับคนไข้จะติดอยู่ที่แผงอะคริลิคด้านนอกของห้องตรวจ

เครื่องเติมอากาศ (Fresh air)

สีบอกระดับ Air Volume
Sleep mode สีเขียวอ่อน
ระดับ 1  สีน้ำเงิน
ระดับ 2  สีเขียว
ระดับ 3  สีส้ม

 

เกจวัดความดัน (Pressure Gauge)

ใช้วัดความดันภายในห้องตรวจ จะต้องมีความดันไม่น้อยกว่า 2.5 ปาสคาล (ติดตั้งอยู่นอกห้องข้างประตูเข้าห้องตรวจ) ตรวจสอบด้วยตา ไม่แนะนำให้ใช้มือเคาะที่หน้าปัด

ข้อแนะนำเพิ่มเติม

  • วางตู้ให้ได้ระดับ หากไม่ได้ระดับประตูจะเปิด-ปิดไม่ได้
  • ควรมีการต่อสายดินเพื่อป้องกันไฟฟ้าดูด กรณีเกิดกระแสไฟฟ้ารั่ว
  • ปิดประตูห้องตรวจให้สนิท
  • พื้นห้องเป็นลามิเนต ห้ามถูพื้นเปียกให้เช็ดหมาดเพื่อป้องกันลามิเนตพองและบวม
  • หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม กรุณาติดต่อบริษัท คอนเทล โฮม จำกัด

สอบถามข้อมูลสินค้า คอนเทล โฮม